เศรษฐกิจไทยมีเศรษฐกิจแบบผสม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า ประเทศไทยมีจีดีพี 11.375 ล้านล้านบาท[7] มีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 3.02%[4] ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในรูปตัวเงินเป็นอันดับที่ 29 ของโลก และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อเป็นอันดับที่ 24 ของโลก ในปี 2556 เศรษฐกิจไทยเติบโต 2.9% จีดีพีมาจากการใช้จ่ายของครัวเรือน 54.4% การใช้จ่ายของรัฐบาล 13.8% การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 26.7%[19] ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่
ภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นภาคหลักในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย โดยภาคอุตสาหกรรมเป็นสัดส่วน 39.2% ของจีดีพี ภาคเกษตรกรรมเป็นสัดส่วน 8.4% ของจีดีพี น้อยกว่าภาคการขนส่งและการค้า ตลอดจนการสื่อสาร ซึ่งเป็นสัดส่วน 13.4% และ 9.8% ของจีดีพีตามลำดับ ภาคก่อสร้างและเหมืองแร่เป็นสัดส่วน 4.3% ของจีดีพี ภาคอื่น (ซึ่งรวมภาคการเงิน การศึกษา โรงแรมและร้านอาหาร) เป็นสัดส่วน 24.9% ของจีดีพี[3] โทรคมนาคมและการค้าบริการกำลังกำเนิดเป็นศูนย์กลางการขยายอุตสาหกรรมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ[20][21]
ในปี 2551 ประเทศไทยส่งข้าวออกคิดเป็นประมาณ 33% ของการค้าข้าวทั่วโลก[22] ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางรายใหญ่ที่สุดของโลก[23] และเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก[24]
ในปี 2559 ภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 30.19 ของจีดีพี โดยมาจาก ภาคการทำเหมืองแร่และการทำเหมืองถ่านหิน ร้อยละ 2.79 ของจีดีพี และ สาขาอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 27.43 ของจีดีพี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น